วันออกพรรษา
วันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๑

ประวัติความเป็นมา

วันออกพรรษา เป็นวันสิ้นสุดการจําพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ที่ร่วมกันในวัดหรือสถานที่ที่ อธิษฐานเข้าพรรษาตลอดระยะเวลา ๓ เดือน ในวันนี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทําสังฆกรรม

ซึ่งเรียกกันว่า วันมหาปวารณา คือวันที่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปจะอนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้

ในเรื่องราวเกี่ยวกับความประพฤติต่าง ๆ  นับตั้งแต่พระสังฆเถระ ได้แก่พระภิกษุผู้มีอาวุโส สูงลงมาจะสามารถว่ากล่าวตักเตือน หรือเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกัน

การกระทํามหาปวารณา เป็นการสังฆกรรมอย่างหนึ่งแทนการสวดพระปาฏิโมกข์ (พระวินัย) ที่ได้กระทํากันทุก ๆ ๑๕ วันในช่วงเข้าพรรษา

 ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา ที่นิยมปฏิบัติ คือ

๑ ประเพณีตักบาตรเทโว (วันแรม ๑ คํา เดือน ๑๑ หลังจากวันออกพรรษาแล้ว ๑ วัน)

๒ พิธีทอดกฐิน (ตั้งแต่วันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ จนถึง วันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๒ กําหนด ๑ เดือนนับตั้งแต่วันออกพรรษา)

๓ พิธีทอดผ้าป่า (ไม่จํากัดกาล)

๔ ประเพณีเทศมหาชาติ (นิยมทํากันในวันขึ้น ๘ คํ่า หรือวันแรม ๘ คํ่า กลางเดือน ๑๒ ในบางท้องถิ่นอาจนิยมทํากันในเดือน ๕ ต่อเดือน ๖ หรือในเดือน ๑๐)

ประเพณีตักบาตรเทโว

การตักบาตรเทโว จะกระทําในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ คือ หลังออกพรรษาแล้ว ๑ วัน

ประวัติความเป็นมาของประเพณีการตักบาตรเทโว

ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมและเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดา โดยจําพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเวลา ๑ พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้ว พระองค์ ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสนคร

การที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า เทโวโรหณะ ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อม ใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวปฏิบัติ สืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

พิธีทอดกฐิน

ประวัติการทอดกฐิน

ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ พระเชตวนาราม ซึ่งเป็นพระอารามที่ อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างถวายเป็นพุทธนิวาส ได้มีภิกษุ ๓๐ รูป ชาวเมืองปาฐา ซึ่งอยู่ด้าน ทิศตะวันตกในแคว้นโกศล เดินทางมาหมายจะเฝ้าพระพุทธองค์ที่เมืองสาวัตถี แต่มาไม่ทัน เพราะใกล้ถึงวันเข้าพรรษา จึงเข้าพักจําพรรษา ณ เมืองสาเกต อันมีระยะทางห่างจากเมือง สาวัตถีราว ๖ โยชน์

ภิกษุทั้ง ๓๐ รูปล้วนแต่เป็นผู้เคร่งครัดปฏิบัติธุดงค์และต่างมีความศรัทธาอย่างแรงกล้าที่จะ เฝ้าพระบรมศาสดา เมื่อถึงวันออกพรรษาแล้ว ก็รีบเดินทางไปยังเมืองสาวัตถีโดยไม่มีการรั้งรอ แม้ว่ายังเป็นช่วงที่ฝนยังตกหนักนํ้าท่วมอยู่ทั่วไป แม้จะต้องฝ่าแดดกรําฝนอย่างไรก็ไม่ย่อท้อ

เมื่อภิกษุทั้ง ๓๐ รูป ได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดาสมความตั้งใจ พระพุทธองค์ตรัสถาม จึงได้เล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ทรงทราบ พระพุทธองค์จึงตรัสธรรมิกถา  ภิกษุเหล่านั้นก็ได้สําเร็จพระอรหันต์ผล ในลําดับนั้น พระบรมศาสดาดําริถึงความยากลําบาก ของพระภิกษุเหล่านั้น จึงเรียกประชุมภิกษุสงฆ์ แล้วตรัสอนุญาตให้พระภิกษุรับผ้าพระกฐินได้ สําหรับในเมืองได้ผ่านวันออกพรรษาแล้ว  นางวิสาขาได้รับพุทธานุญาตและ ได้เป็นผู้ถวายผ้ากฐินเป็นคนแรก

พิธีทอดผ้าป่า

ประวัติความเป็นมา ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้ายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระ ภิกษุทั้งหลายรับจีวรจากชาวบ้าน พระภิกษุเหล่านั้นจึงต้องเที่ยวเก็บผ้าที่เขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อนที่ชาวบ้านไม่ต้องการนํามาทิ้งไว้ ผ้าที่ห่อศพ ฯลฯ เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อย พอแก่ความต้องการแล้ว จึงนํามาทําความสะอาด ตัดเย็บ ย้อม เพื่อทําเป็นจีวร สบง หรือ สังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง การทําจีวรของพระภิกษุในสมัยพุทธกาลจึงค่อนข้างยุ่งยากหรือเป็น งานใหญ่ ดังที่กล่าวแล้วในเรื่องพิธีทอดกฐิน

ครั้นชาวบ้านทั้งหลายเห็นความยากลําบากของพระสงฆ์ต้องการนําผ้ามาถวาย แต่เมื่อยังไม่มี พุทธานุญาตโดยตรง จึงนําผ้าไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่าง ๆ เช่น ในป่า ในป่าช้า หรือข้าง ๆ ทางเดิน เมื่อภิกษุสงฆ์มาพบ ก็นําเอามาทําเป็นสบง จีวร พิธีการทอดผ้าก็มีความเป็นมาด้วยประการฉะนี้

สําหรับในเมืองไทย พิธีทอดผ้าป่าได้รับรื้อฟื้นขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ด้วยทรงพระประสงค์จะ รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในทางพระศาสนา

ประเพณีงานเทศน์มหาชาติ

ประเพณีงานเทศน์มหาชาติจัดเป็นการทําบุญที่สําคัญและมีความหมายที่สุดในสังคมไทย เนื่องจากเป็นประเพณีที่ทําสืบเนื่องกันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน เพราะความเชื่อว่าถ้าผู้ใด ได้ฟังเทศน์มหาชาติแล้วจะได้กุศลแรง แลหากใครตั้งใจฟังให้จบในวันเดียวจะได้เกิดร่วมและ พบพระศรีอริยเมตตรัยโพธิสัตว์ซึ่งจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต

ในพระราชสํานัก ปรากฏเป็นพระราชพิธีในวังหลวงมาแต่สมัยสุโขทัยแล้ว ในสมัยอยุธยา

มหากษัตริย์ถึงกับทรงโปรด ฯ ให้สร้างพระที่นั่งทรงธรรม ด้วยพระราชประสงค์ให้เป็นที่ทรง

ธรรมในงานพระราชพิธีเทศน์มหาชาติ พระราชพิธีนี้สืบเนื่องมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ ทรงเกณฑ์พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ทํากระจาดใหญ่บูชากัณฑ์ เทศนา รัชกาลที่ ๒ ครั้งที่ทรงดํารงอยู่ในสมณเพศก็ทรงหัดเทศน์กัณฑ์มัทรี จนกลายเป็นธรรมเนียมให้พระราชโอรสถวายเทศน์มหาชาติในวังหลวง

ในท้องถิ่น โดยเฉพาะในเขตภาคอิสานถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่สําคัญที่สุดของปี จะจัดขึ้นใน ราวเดือน ๔ เรียกว่า บุญพระเวส ทั้งยังมีประเพณีเกี่ยวเนื่องกับเทศกาลนี้ด้วย เช่น พิธีแห่พระเวสเข้าเมือง และพิธีแห่ข้าวพันก้อนเพื่อบูชาคาถาพัน ทางภาคเหนือก็ให้ความสําคัญ กับเทศน์มหาชาติมาก เห็นได้จากมีประเพณีสร้างหลาบเงินหรือแผ่นเงินแกะลาย แขวนห้อยรอบฉัตร ถวายเป็นเครื่องขันธ์ตั้งธรรมหลวงในงาน

แหล่งอ้างอิง

ธนากิต วันสําคัญของไทย กรุงเทพ ชมรมเด็ก 2541

ธนากิต ประเพณี พิธีมงคล และวันสําคัญของไทย กรุงเทพ ชมรมเด็ก 2539

วรนุข อุษณกร ประวัติวันสําคัญที่ควรรู้จัก

กรมศิลปากร กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมสมัยรัตนโกสินทร์


วัดธรรมบารมี เมืองดอร์ทมุนด์