ประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง

วันลอยกระทงตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ประเพณีลอยกระทงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยประมาณ 700 ปีมาแล้ว
ประเพณีลอยกระทงได้เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. 1800 ดังปรากฏในหนังสือ
นางนพมาศ ผู้เป็นพระสนมเอกของพระร่วงเจ้าว่า "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาด
กว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่างๆ มาประดับเป็นรูปกระมุท (ดอกบัว) กลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณ
เท่ากงระแทะ (วงล้อเกวียน) ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลาย...
เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯทางชลมารคทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย
จึงมีพระราชโองการฯให้จัดพิธีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง
พระราชพิธีนี้จึงได้ถือปฏิบัติเป็นประจำจนกระทั่งบัดนี้

 

ประเพณีลอยกระทงมีมานานจนสืบประวัติไม่ได้ และไม่มีในคัมภีร์ทางศาสนาเสฐียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน)
ได้ค้นคว้าที่มาของประเพณีลอยกระทงไทยทุกภาคตลอดจนถึงประเทศใกล้เคียงคือ พม่า กัมพูชา จีน อินเดีย ได้ความว่า
มีประเพณีลอยกระทงทุกประเทศด้วยเหตุผลต่างๆ กัน

 

สรุปเหตุผลของการลอยกระทงในประเทศไทยดังนี้

1. เพื่อขอขมาแม่คงคา เพราะได้อาศัยน้ำท่านกินและใช้ และอีกประการหนึ่งมนุษย์มักจะทิ้งและถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในน้ำด้วย

2. เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที ซึ่งประพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทประดิษฐานไว้บนหาดทราย
ที่แม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย

3. เพื่อลอยทุกข์โศกโรคภัย และสิ่งไม่ดี คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์

4. เพื่อบูชาพระอุปคุต ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพแก่พระอุปคุตอย่างสูงซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่ง
ที่มีอิทธิฤทธิ์มากสามารถปราบพญามารได้

การลอยกระทงไม่มีพิธีรีตอง เพียงแต่ขอให้มีกระทงจะทำด้วยอะไรก็ได้ เช่น ใบตอง ก้านกล้วย กาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว
กระดาษ จุดธูปเทียนปักที่กระทงแล้วอธิษฐานตามที่ตนปรารถนา เสร็จแล้วจึงลอยไปที่แม่น้ำลำคลอง



วัดธรรมบารมี เมืองดอร์ทมุนด์