พระพุทธศาสนา ๖ หลักสําคัญ

 

๑. อริยสัจ ๔ ได้แก่

    ทุกข์   คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ

    สมุทัย  คือ เหตุให้เกิดทุกข์

    นิโรธ   คือ ความดับทุกข์

    มรรค   คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

 ๒. มรรค ๘ (อริยมรรค ๘) คือ

    ๒.๑ สัมมาทิฐิ        คือ ปัญญาเห็นชอบ

    ๒.๒ สัมมาสังกัปปะ  คือ ดําริชอบ

    ๒.๓ สัมมาวาจา      คือ เจรจาชอบ

    ๒.๔ สัมมากัมมันตะ  คือ ทําการงานชอบ

    ๒.๕ สัมมาอาชีวะ    คือ เลี้ยงชีวิตชอบ

    ๒.๖ สัมมาวายามะ   คือ เพียรชอบ

    ๒.๗ สัมมาสติ        คือ ตั้งสติชอบ

    ๒.๘ สัมมาสมาธิ     คือ ตั้งใจชอบ

 ๓. กฏแห่งกรรม คือ กรรมดี กรรมชั่ว และการเกิดใหม่

 ๔. หลักไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

 ๕. ปฏิจจสมุปบาท / เป็นคําสอนว่าด้วยทางสายกลาง คือ สิ่งนี้เกิด ต้องอาศัยสิ่งนั้น หรือ การเกิดต้องอาศัยปัจจัย

          อวิชชา       ทําให้เกิด สังขาร

          สังขาร        ทําให้เกิด วิญญาณ

          วิญญาณ     ทําให้เกิด นามรูป

          นามรูป       ทําให้เกิด อายตนะ ๖

          อายตนะ ๖  ทําให้เกิด ผัสสะ

          ผัสสะ         ทําให้เกิด เวทนา

          เวทนา        ทําให้เกิด ตัณหา

          ตัณหา        ทําให้เกิด อุปาทาน

          อุปาทาน     ทําให้เกิด ภพ

          ภพ            ทําให้เกิด ชาติ (ความเกิด)

          ชาติ (ความเกิด) ทําให้เกิด แก่ เจ็บ ตาย และความทุกข์อื่น ๆ

 

ในทํานองกลับกัน (โดยปฏิโลม) 

          เพราะ อวิชชา       ดับ สังขารจึงดับ

          เพราะ สังขาร        ดับ วิญญาณจึงดับ

          เพราะ วิญญาณ     ดับ นามรูปจึงดับ

          เพราะ นามรูป       ดับ อายตนะ ๖ จึงดับ

          เพราะ อายตนะ ๖  ดับ ผัสสะจึงดับ

          เพราะ ผัสสะ        ดับ เวทนาจึงดับ

          เพราะ เวทนา       ดับ ตัณหาจึงดับ

          เพราะ ตัณหา       ดับ อุปาทานจึงดับ

          เพราะ อุปาทาน    ดับ ภพจึงดับ

          เพราะ ภพ           ดับ ชาติ (ความเกิด) จึงดับ

          เพราะ ชาติ (ความเกิด) ดับ แก่ เจ็บ ตายและความทุกข์อื่น ๆ จึงดับ

 ๖ พระนิพพาน (ความดับทุกข์ และดับกิเลส)


(กลับไปหน้าเมนู)